12 สิงหาคม เทศน์เรื่องพระคุณแม่ที่ วัดเครือวัลย์วรวิหาร



พระคุณแม่


ทรหฺมาติ มาตาปิตโร ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร

อาหุเนยฺย จ ปุตฺตาน ปชาย อนุกมฺปกา

‘มารดาบิดาทั้งหลาย ผู้เอ็นดูประชา ชื่อว่า เป็นพรหม เป็นบุรพาอาจารย์ และเป็นอาหุไนย ของบุตรทั้งหลาย’

(อง. จตุก. ๒๑/๙๒)


๑. แม่ : หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดลูก , คำที่ลูกเรียกผู้ให้กำเนิ
 แม่โดยความเป็นใหญ่ : แม่ทัพ แม่กอง แม่บ้าน แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ ฯลฯ
.
๒. แม่ในฐานะเป็นพรหมของบุตร : คือ ผู้ประเสริฐ เป็นผู้ลิขิตชีวิตลูก เพราะประกอบด้วยจิตที่มีพรมมวิหาร คือ
- เมตตาต่อบุตร : รักใครเอาใจใส่ ถนอมเลี้ยงให้เจริญเติบโต ( เมื่อลูกยังเล็กเป็นเด็กเยาว์วัย )
- กรุณาต่อบุตร : ห่วงใยปกปักรักษา หาทางบำาบัดแก้ไข ( เมื่อลูกเจ็บไข้เกิดมีทุกข์ภัย )
- มุทิตาต่อบุตร : พลอยปลาบปลื้มใจ หรือหวังให้ลูกงามสดใสอยู่นานเท่านาน ( เมื่อเติบโตดูแลตนได้ )
- อุเบกขาต่อบุตร : มีใจนิ่งสงบเป็นกลาง วางเฉยคอยดู ( เมื่อลูกรับผิดชอบกิจหน้าที่ของตนขวนขวายอยู่ด้วยดี )

๓. แม่ในฐานะเป็นครูคนแรกของบุตร : มีวิญาญาณแห่งความเป็นครูอยู่เสมอ สองด้วยความรัก ไม่เลือกเวลา และสถานที่ ของเพียงมีโอกาสสอน ทำหน้าที่จนวินาทีสุดท้ายของชีวิต คือ
- สอนลูกให้รู้จักโลกและชีวิต
- สอนลูกให้รู้จักระวังภัยและการมีชีวิตรอด
- สอนลูกให้รู้ ถูก ผิด ดี ชั่ว
- สอนลูกโดยไม่ผูกผันกับกาลเวลา
.
๔. แม่ในฐานะเป็นทีนับถือของบุตร : ทำตนให้เหมาะสม ควรแก่การยกย่องสรรเสริญ บุคคลควรยกแม่ไว้เหนือเศรียรเกล้า เพราะเหตุนี้คือ
- แม่ควรแก่การบูชา : เพราะเป็น..อาหุไนยบุคคล
- แม่ควรแก่การตอนรับ : เพราะเป็น..ปาหุไนยบุคคล

๕. แม่ในฐานะเป็นผู้อนุเคราะห์ : ทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อลูกอย่างสม่ำเสมอ ไม่รู้จักคำว่า เหน็ดเหนื่อยและเบื่อหน่อยเฝ้าคอยให้ความเกื้อกูลลูก ดังนี้
- เป็นเหมือนเทวดาคอยปกป้องรักษาลูก
- เป็นธนาคารของลูก
- เป็นผู้เสียสละเพื่อลูก
- เป็นผู้ให้ตลอดกาล

๖. สิ่งที่ควรปฎิบัติต่อแม่ : บุตรควรปฎิบัติต่อแม่ในทุกๆ โอกาส.. “รักแม่ทุกวัน..เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ..เลี้ยงดูท่านทั้งกายและใจ “ เมื่อท่านจากไป..ควรปฎิบัติต่อคำสั่งสอนของแม่..ดังนี้
- ทำหน้าที่เป็นบุตรที่ดี
- มีความกตัญณูกตเวที

“ เป็นพระพรหม พร้อมลิขิต ชีวิตลูก

เป็นครูปลุก ลูกศิษย์ คิดแก้ไข

เป็นผู้ที่ นับถือ ระบือไกล

เป็นผู้ให้ ตลอดกาล คือ มารดา"

ที่มา : บัณฑิตอุดร
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น